Weightless Intersections, พ.ศ. 2565 

สีน้ำมันบนผ้าใบ 

ธนัช ตั้งสุวรรณ สร้างผลงานศิลปะที่มุ่งไปที่ ‘การแข่งขันทางอวกาศ’ (Space Race) ระหว่างสองมหาอำนาจคือสหภาพโซเวียต (USSR) และสหรัฐอเมริกา ที่เริ่มต้นด้วยการปล่อยดาวเทียมสปุตนิก 1 ในปี พ.ศ. 2500 หรือหนึ่งทศวรรษหลังจากเริ่มต้นสงครามเย็น ต่อมาในเดือนกรกฏาคม พ.ศ. 2518 ความร่วมมือด้านอวกาศระหว่างสองประเทศที่แตกต่างกันบนโลกเกิดขึ้นเป็นครั้งแรก และที่น่าขันคือเป็นการค้นหาจุดร่วมกันหรือการบรรจบกันในห้วงอวกาศ ธนัชสำรวจจุดบรรจบกันที่ไร้น้ำหนักในอวกาศผ่านผลงานภาพวาดจรวด สำหรับธนัช จรวดเป็นตัวแทนของจุดตัดในด้านวัตถุและเวลาระหว่างสองประเทศ ซึ่งถือกำเนิดขึ้นจากความทะเยอทะยานที่จะควบคุมและครอบงำโลกสมัยใหม่ ในฐานะที่เป็นวัตถุ จรวดยังเป็นสัญลักษณ์ของความคิดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์ทั้งที่รายรอบการพัฒนาจรวดและอื่นๆ ตลอดจนเป็นอุปมาสำหรับสิ่งต่าง ๆ ที่ตัวศิลปินและคนอื่น ๆ อีกมากมายหลายคนได้เติบโตขึ้นมา ขนาดที่แท้จริงของจรวดทางกายภาพนั้นมีความยิ่งใหญ่ในหลายๆ ด้าน แต่ไม่เหมือนกับอนุสาวรีย์ เนื่องจากจรวดนั้นไม่ถาวร จรวดเป็นวัตถุที่ทรงพลังซึ่งไม่เพียงแต่เป็นตัวแทนของจุดสูงสุดของความเฉลียวฉลาดและการทำงานร่วมกันของมนุษย์ แต่ยังเป็นข้อพิสูจน์และความต่อเนื่องของประเพณีการสำรวจและการค้นพบของมนุษย์อีกด้วย

อย่างไรก็ตาม เมื่อมีด้านสว่างย่อมต้องมีด้านมืด ธนัชคำนึงถึงทรัพยากรจำนวนมหาศาลซึ่งจำเป็นต่อการจัดหาเงินทุนสำหรับโครงการสำรวจนี้ และตั้งคำถามถึงความจำเป็นจริง ๆ ในโลกปัจจุบัน ความสำเร็จของนาซาเป็นผลงานของเราทั้งหมดจริงหรือ ศิลปินอดไม่ได้ที่จะคิดใคร่ครวญถึงความคล้ายคลึงกันของแนวคิดนี้กับโครงสร้างทางเศรษฐกิจของหลายประเทศทั่วโลก โดยมีประเทศที่อยู่ระดับบนเพียงไม่กี่ประเทศที่ประสบความสำเร็จกับ ‘ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์’ ในขณะที่ประเทศที่อยู่ระดับล่างหลายประเทศต่างดิ้นรนเพื่อให้อยู่รอด จรวดเป็นดั่งยานมุ่งสู่อนาคต และยังเป็นยานสำหรับการหลบหนีและการถูกยึด นอกจากนี้จรวดและการปล่อยจรวดออกจากฐานยิง ยังเป็นการแสดงภาพของ sublime หรือ ความล้ำเลิศสูงส่ง จรวดเป็นวัตถุแห่งการเฉลิมฉลอง และในบางแง่มุมก็เป็นวัตถุที่ sublime

ภาพวาดของจรวดเหล่านี้ทำหน้าที่เป็นรูปลักษณ์ที่จับต้องได้ของกุญแจสำคัญดังกล่าว แนวคิดที่พวกเขา ล็อกและปลดล็อก ภาพวาดจรวดในสไตล์ที่ชวนให้นึกถึงโปสเตอร์โฆษณาชวนเชื่อของจีนและรัสเซียจากยุคดังกล่าว ความคล้ายคลึงกันระหว่างแนวทางทางเทคนิคที่ใช้กับวิธีที่ทั้งสองประเทศแสดงถึงการคาดเดาในอนาคต นิยายหรือเรื่องแต่งมีความสำคัญเพราะมันสามารถกลายเป็นความจริงได้ และอะไรคือความจริงโดยปราศจากการคาดเดา ภาพวาดเหล่านี้เป็นเครื่องเตือนใจ ทั้งในด้านดีและไม่ดี แต่ถึงกระนั้นก็เป็นแรงบันดาลใจและเติมพลังให้มีชีวิตชีวา

พบกับผลงานของคุณธนัช ตั้งสุวรรณ ได้ในนิทรรศการสว่างไสว ศิวิไล @sawangsawaisiwilai
ณ ชั้น 3 เซ็นทรัล ดิ ออริจินัล สโตร์
.

3 มี.ค. 65 – 27 มี.ค. 65


#SawangSawaiSiwilai @balm3001 @central.theoriginalstore

ติดต่อเรา
PHP Code Snippets Powered By : XYZScripts.com